UFABETWIN

UFABETWIN มองหาปมการบูลลี่ในสังคมเกาหลีใต้ ผ่านชีวิตที่สูญเสียไปของคิม อินฮยอก

การเสียชีวิตของ คิม อินฮยอก นักวอลเลย์บอลชาวเกาหลีใต้ ที่เกิดจากการรองรับการถูกไซเบอร์บูลลี่ยาวนานนับ 10 ปี ถือเป็นข่าวใหญ่ในประเทศเกาหลีใต้ และนำมาสู่การตื่นตัวถึงปัญหาที่เกิดจากวัฒนธรรมการแสดงความเกลียดชังอีกครั้ง

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักกีฬาเลือกจบชีวิตตัวเองเพราะถูกบูลลี่ และไม่ใช่ครั้งแรกที่สังคมเกาหลีใต้ตื่นตัวเช่นเดียวกัน และถึงแม้จะผลักดันให้กฎหมายให้มีความรุนแรงขึ้น แต่จนแล้วจนรอดสังคมแห่งนี้ก็ยังคงปราศจากความเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง และดูเหมือนว่าชีวิตที่สูญเสียไปเนื่องจากการถูกรังแกโดยคนรอบข้างและการถูกคอมเมนต์จากคนที่ไม่รู้จักมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

จะพาคุณไปมองหาปมของการบูลลี่ในสังคมเกาหลีใต้ ผ่านชีวิตที่สูญเสียไปของนักกีฬา ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมพวกเขาถึงไม่สามารถสกัดหรือยับยั้งความเกลียดชังให้หายไปจากสังคมเสียที

ปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคม

การข่มเหงรังแกผู้อื่น หรือ บูลลี่ ถือเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมเกาหลีใต้มาอย่างยาวนาน โดยการบูลลี่ในประเทศเกาหลีใต้สามารถเกิดขึ้นได้กับประชาชนทุกเพศทุกวัยและเกิดขึ้นได้ในทุกสภาพแวดล้อม ไล่ตั้งแต่ โรงเรียน, ค่ายทหาร, สถานที่ทำงาน, กลุ่มสังคมขนาดเล็ก, กลุ่มสังคมเฉพาะ ไปจนถึง โลกออนไลน์

ในบรรดาสภาพแวดล้อมทั้งหมดที่กล่าวมา โรงเรียน กลับกลายเป็นสถานที่ซึ่งเกิดการข่มเหงรังแกผู้อื่นมากที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ มีรายงานจากกระทรวงศึกษาธิการยืนยันว่า จะมีนักเรียนอย่างน้อยหนึ่งคนจาก 100 คน ต้องเคยประสบพบเจอประสบการณ์การถูกบูลลี่ โดยเหตุการณ์เหล่านี้ครอบคลุมตั้งแต่นักเรียนระดับประถมจนถึงมัธยมปลาย

การรังแกผู้อื่นในโรงเรียนมีคำศัพท์เฉพาะในภาษาเกาหลีว่า (อีจีเม) โดยคำนี้ถือเป็นศัพท์ที่ประยุกต์มาจากภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่า “ราชาผู้กลั่นแกล้งผู้อื่น (ด้วยหอกแหลม)” นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังมีคำศัพท์เฉพาะสำหรับนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันไป ตามลำดับยศของสังคมการบูลลี่ เช่น (หวังตา) คือเด็กที่รังแกผู้อื่น, (อึนตา) คือเด็กที่ถูกบูลลี่อย่างลับ ๆ หรือ (ยองตา) คือเด็กที่ถูกบูลลี่อยู่เสมอ

การมีคำศัพท์แสลงเฉพาะในโรงเรียนเพื่อแบ่งแยกเด็กแต่ละคนในระดับที่แตกต่างกันออกไปสะท้อนถึงปัญหาการบูลลี่ในสังคมเกาหลีใต้ในระดับที่น่าตกใจ เพราะเรื่องนี้แสดงถึงวัฒนธรรมการรังแกผู้อื่นในระดับองค์รวม ไม่ใช่การมีปัญหากันแบบระดับบุคคล และไม่ใช่การรังแกกันเนื่องจากความผิดใจส่วนตัว เนื่องจากการบูลลี่ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมักเกิดขึ้นจากนักเรียนกลุ่มใหญ่ หรือบางครั้งอาจหมายถึงนักเรียนทั้งห้องรุมรังแกนักเรียนเพียงคนเดียว

“ในเกาหลี การแพร่กระจายข่าวลือ เช่น เพื่อนร่วมห้องสองคนนี้แอบมีเซ็กส์กัน สามารถสร้างความเจ็บปวดได้มากกว่าการทำร้ายร่างกาย ยิ่งปัจจุบันนี้มีความรุนแรงในโรงเรียนที่เรียกว่า ‘การบูลลี่เงียบ’ ซึ่งอาจหมายถึงการไถเงินจากเด็กที่ถูกรังแก ไปจนถึง การเอาหนังสือไปซ่อน เพื่อให้เด็กคนนั้นถูกครูว่า” กวัก กึมจู อาจารย์จิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโซล กล่าว

มีทฤษฎีมากมายที่จะนำมาอธิบายเหตุผลที่คนสักคนหนึ่งเลือกจะลงมือรังแกผู้อื่น แต่สำหรับสังคมเกาหลีใต้ พวกเขาสามารถใช้สาเหตุง่าย ๆ แค่ “ฉันไม่ชอบ…” เพื่อกระทำการบูลลี่ผู้อื่น เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้ถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่าในโรงเรียน ซึ่งถือเป็นแหล่งบ่มเพาะและปลูกฝังพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคลที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในสังคมต่อไป

การบูลลี่ในสังคมเกาหลีใต้จะซับซ้อนและมีความหลากหลายมากขึ้นในระดับสังคมที่สูงขึ้นไปจากสังคมโรงเรียน (ยกเว้นค่ายทหาร ที่มีลักษณะคล้ายกับโรงเรียนอยู่ คือผู้มีอำนาจรังแกผู้ที่ไร้อำนาจ) ยกตัวอย่างเช่น สังคมการทำงาน การบูลลี่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ

ไล่ตั้งแต่การแข่งขันทางหน้าที่การงาน, ความอิจฉาเนื่องจากรู้สึกด้อยกว่า, ความโกรธแค้นส่วนตัว, ปกปิดความผิดของตัวเอง, แสดงอำนาจในมือ, ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ หรือเพียงเพราะว่าเคยรังแกผู้อื่นมาก่อนตอนที่ตนเป็นนักเรียน

เห็นได้ชัดว่าการรังแกผู้อื่นแทบจะเป็นยาครอบจักรวาลสำหรับการเอาชนะหรือต่อต้านผู้อื่นในสังคมเกาหลีใต้ เพราะพวกเขาคุ้นชินกับพฤติกรรมเหล่านี้เป็นอย่างดี เมื่อบวกกับสังคมการทำงานที่มีการแข่งขันสูง ชาวเกาหลียิ่งมีแนวโน้มจะโจมตีเพื่อนร่วมงานของตนมากขึ้น

ประกอบกับสังคมเกาหลีมีวัฒนธรรมที่ต้องแสดงความเคารพและสุภาพต่อกันและกันเสมอ การเล่นงานผู้อื่นลับหลังด้วยวิธีการบูลลี่จึงกลายเป็นวิธีการยอดนิยม ซึ่งผู้คนในเกาหลีใต้ย่อมรู้ดีว่า การบูลลี่ มีประสิทธิภาพในการทำร้ายคนรอบข้างมากเพียงใด

“มันง่ายกว่ามากหากเป็นการทำร้ายร่างกาย เพราะเหยื่อแค่เดินไปหาหมอ หลังจากนั้นไม่นานคุณก็จะหาย แต่สำหรับเหยื่อที่ถูกคุกคามในลักษณะนี้ พวกเขาไม่มีทางรักษาแผลในใจได้เลย” จอน มินซู หัวหน้าฝ่ายสืบสวนอาชญากรรมออนไลน์ของสำนักงานตำรวจนครบาลกรุงโซล กล่าว

นักกีฬา เป้าหมายใหม่ของการถูกไซเบอร์บูลลี่

เมื่อโลกหมุนเข้าสู่ยุคมิลเลเนียมที่การเจอผู้คนในอินเทอร์เน็ตง่ายดายกว่าการพบปะกันในชีวิตจริง การรังแกผู้อื่นในรูปแบบ “ไซเบอร์บูลลี่” จึงเกิดขึ้น ซึ่งการไซเบอร์บูลลี่นี้ถือเป็นการปรับภูมิทัศน์ของการรังแกผู้อื่นให้มีความเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม เพราะนั่นหมายความว่าบุคคลหนึ่งสามารถปกปิดตัวตนก่อนส่งความเกลียดชังไปหาอีกฝ่าย โดยที่เหยื่อผู้ถูกกระทำไม่รู้จักผู้ลงมือเลยด้วยซ้ำ

 

UFABETWIN

 

มีรายงานออกมาว่าการไซเบอร์บูลลี่ส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้เกิดขึ้นในสังคมโรงเรียน โดยสามในสี่ของนักเรียนวัยมัธยมจะทราบว่าใครเป็นเหยื่อที่กำลังถูกรังแกในโลกออนไลน์ แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือครึ่งหนึ่งของผู้กระทำการไซเบอร์บูลลี่ผู้อื่น คือ เด็กนักเรียนชั้นประถมและชั้นมัธยมต้น อย่างไรก็ตามการไซเบอร์บูลลี่ที่ร้ายแรงจนส่งผลให้เหยื่อได้รับผลกระทบทางจิตใจจนลงมือปลิดชีวิตตัวเอง มักจะมาจากฝีมือของผู้ใหญ่

เมื่อหันกลับมามองที่ฝั่งของผู้ถูกกระทำ หากไม่นับเพื่อนร่วมชั้นเรียนแล้ว เหยื่อยอดนิยมของการระบายอารมณ์ผ่านการไซเบอร์บูลลี่ คือ บุคคลสาธารณะหรือบุคคลผู้มีชื่อเสียงในเกาหลีใต้ทุกแวดวงในสังคม โดยเป้าโจมตีที่สามารถเห็นตามข่าวได้บ่อยมากที่สุดคือ นักแสดง, ซูเปอร์สตาร์ K-Pop และนักกีฬาชื่อดัง โดยทั้งหมดถือเป็นกลุ่มคนที่ได้รับความสนใจจากสังคม และได้รับความรักจากบุคคลมากมาย

เหมือนกับที่กล่าวไปข้างต้นว่าความอิจฉาเนื่องจากรู้สึกด้อยกว่า ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้การบูลลี่ผู้อื่นเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายในเกาหลีใต้ การพุ่งเป้าไปยังบุคคลที่ดูเหมือนจะมีพร้อมทุกอย่าง ทั้งความสำเร็จในหน้าที่การงาน และความรักจากบุคคลรอบข้าง จึงถือเป็นการตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้ ซึ่ง บุคคลสาธารณะ เช่น คนในวงการบันเทิง หรือ นักกีฬา ตอบโจทย์ตรงนี้เป็นอย่างมาก

การไซเบอร์บูลลี่บุคคลสาธารณะสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นจากเรื่องไม่เป็นเรื่อง ไปจนถึงการใส่สีตีไข่เพื่อสร้างข่าวลือที่ไม่เป็นความจริง อย่างไรก็แล้วแต่ทั้งหมดล้วนมีจุดประสงค์เดียวกันคือการสร้างคอมเมนต์ที่อุดมไปด้วยความรู้สึกเกลียดชัง เพื่อโจมตีบุคคลสาธารณะที่กำลังตกเป็นเหยื่อ

นักกีฬาที่เป็นตัวอย่างของการถูกไซเบอร์บูลลี่จากเรื่องไม่เป็นเรื่อง คือ อัน ซาน นักกีฬายิงธนูสาวเจ้าของ 3 เหรียญทองจากโอลิมปิก เกมส์ 2020 ที่ถูกโจมตีทางอินเทอร์เน็ตในข้อหามีแนวคิดเป็นเฟมินิสต์ หรือ สนับสนุนแนวคิดสตรีนิยม เพียงเพราะแค่เธอ “ตัดผมสั้น” เนื่องจากมันสะดวกมากกว่าในการยิงธนู

แต่ความจริงไม่ใช่สิ่งที่ชาวเกาหลีใต้ส่วนหนึ่งต้องการ ประโยคในทำนองที่ว่า “ฉันไม่สนับสนุน อัน ซาน เพราะฉันเกลียดเฟมินิสต์” จึงแพร่หลายในโลกอินเทอร์เน็ต และนำมาสู่การคอมเมนต์เกลียดชังมากมายในอินสตาแกรมของเธอ

เนื่องจากผู้คนในเกาหลีใต้จำนวนไม่น้อยมองว่าแนวคิดเฟมินิสต์ กำลังเข้ามาทำลายวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศ และผู้หญิงที่ตัดผมสั้นแบบ อัน ซาน ดูแปลกประหลาดไม่ต่างจากเอเลี่ยน

“ขณะที่คุณส่งข้อความที่ถูกผลักดันจากปมด้อยของตัวเองในห้องของคุณ ฉันเองก็กำลังคว้าสองเหรียญทองจากโอลิมปิก” อัน ซาน ตอบโต้ความเกลียดชังที่เข้ามาผ่านอินสตาแกรม พร้อมกับแคปหน้าจอที่แสดงถึงคอมเมนต์แง่ลบที่เธอได้รับ

และถึงแม้ อัน ซาน จะมีความเข้มแข็งพอที่จะตอกกลับบรรดาผู้เกลียดชังไปหนึ่งดอก แต่เนื่องจากบทบาทบุคคลสาธารณะ ท้ายที่สุด อัน ซาน ต้องลบข้อความนั้นทิ้ง และยังต้องหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความเกลียดชังที่เธอกำลังเผชิญอยู่ โชคดีที่เธอจิตใจเข้มแข็งมากพอจึงสามารถรอดผ่านจากความเห็นด้านลบเหล่านั้นไปได้

โชคร้ายที่ไม่ใช่ทุกคนจะแข็งแกร่งแบบ อัน ซาน เพราะมีนักกีฬาจำนวนหนึ่งที่เลือกจะจบชีวิตของตัวเอง เนื่องจากมองว่านั่นคือ “วิธีเดียว” ที่จะหลบหลีกการไซเบอร์บูลลี่ที่พุ่งเข้ามาสู่พวกเขาได้ โดยกรณีล่าสุดคือ คิม อินฮยอก นักวอลเลย์บอลสโมสร ที่จบชีวิตของตนในบ้านพัก ด้วยวัยเพียง 26 ปี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังถูกโจมตีเรื่องที่เขาชอบแต่งหน้าลงสนามแข่งขัน

ความเกลียดชังที่นำมาสู่ความตาย

คิม อินฮยอก ต้องรับมือกับความเห็นเกลียดชังที่บอกว่าเขาไม่ใช่ผู้ชาย (การมีรสนิยมไม่ตรงกับเพศสภาพ ยังไม่ใช่เรื่องที่ยอมรับได้ในสังคมเกาหลีใต้) ไปจนถึงข้อความที่บอกว่าเขาเคยเล่นหนัง โดย อินฮยอก พบเจอกับการถูกไซเบอร์บูลลี่มานานนับ 10 ปี

และเคยเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์ จนอาการป่วยของเขาเป็นที่รู้กันโดยทั่วไป แต่ความจริงตรงนี้กลับทำให้เขาต้องเจอกับคอมเมนต์ที่โหดร้ายยิ่งกว่า อย่าง “ถ้ารู้ว่า (โซเชียลเน็ตเวิร์กเซอร์วิส) มันทำร้ายคุณ ทำไมถึงยังเล่นอยู่ ?” หรือ “ทำไมยังใช้ฟิลเตอร์พวกนั้นใน

 

UFABETWIN

การเสียชีวิตของ คิม อินฮยอก กลายเป็นข่าวดังในเกาหลีใต้ และมีหลายสำนักข่าวที่พูดในทำนองเดียวกันว่า “มันเป็นเรื่องจริงที่วัฒนธรรมในการแสดงความเกลียดชังของชาวเกาหลี รวมถึงการแสดงความเห็นในเชิงมุ่งร้าย ได้กลายเป็นปัญหาขั้นร้ายแรงในปัจจุบัน”

แต่ถึงสื่อมวลชนจะตื่นตัวกันขนาดนี้ ชาวเกาหลีใต้ส่วนหนึ่งก็ไม่มีท่าทีที่จะลดความเกลียดชังของพวกเขาที่มีต่อบุคคลที่พวกเขาอยากบูลลี่ลงแม้แต่น้อย เพราะหลังจาก คิม อินฮยอก เสียชีวิต ฮง ซอกชอน นักแสดงชาวเกาหลีใต้ที่เปิดตัวว่าเป็นเกย์มาตั้งแต่ปี 2000 ได้ออกมาไว้อาลัยต่อผู้เสียชีวิตด้วยประโยคที่ว่า

“เรื่องนี้ความโหดร้ายของบุคคลที่โจมตี เลือกปฏิบัติ และนำไปสู่ความตายของใครบางคน เพียงเพราะว่าพวกเขาแตกต่างจากฉัน นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นทุกวันในประเทศแห่งนี้ในปี 2022”

คำว่า “แตกต่าง” ที่ ฮง ซอกชอน ใช้ในการไว้อาลัยต่อ คิม อินฮยอก ส่งผลให้เขาถูกโจมตีว่ากำลังเปิดเผยเพศสภาพของผู้เสียชีวิต ซึ่งชาวเกาหลีบางส่วนเลือกจะใช้คำว่า “พวกรักร่วมเพศ” ในการอธิบายตัวตนของผู้เสียชีวิต

แน่นอนว่านี่คือคำดูหมิ่นที่กลุ่ม ในเกาหลีใต้ต้องพบเจอทุกวัน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตไปแล้ว นี่จะยังคงเป็นสิ่งที่ชาวเกาหลีกลุ่มหนึ่งมองว่าเป็น ตราบาป ที่ต้องติดตัวไปตลอดชีวิต และจะยังคงอยู่ต่อไปตราบใดที่การไซเบอร์บูลลี่ รวมถึงแนวคิดล้าหลังในเกาหลีใต้ยังคงอยู่

สองกรณีที่กล่าวมาข้างต้น ทั้ง อัน ซาน และ คิม อินฮยอก ถือเป็นการไซเบอร์บูลลี่ที่นำเรื่องง่าย ๆ อย่าง รูปร่างหน้าตา เข้ามาโยงกับแนวคิดที่ชาวเกาหลีใต้เกลียดชังโดยทั่วไป อย่าง เฟมินิสต์ หรือ ซึ่งจากกรณีของ อินฮยอก คงเห็นแล้วว่านี่ถือเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถทำร้ายผู้อื่นได้อย่างเจ็บปวดที่สุด

สำหรับนักกีฬาแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่สามารถตกเป็นเป้าโจมตีในการไซเบอร์บูลลี่ได้ง่าย ๆ โดยปัจจัยยอดนิยมที่สุดอีกวิธีหนึ่งคือ “ผลงานในสนาม”

กรณีที่เป็นข่าวดังมากในประเทศเกาหลีใต้คือ การเสียชีวิตของ โก ยูมิน นักวอลเลย์บอลสาวที่จบชีวิตตัวเองไปเมื่อปี 2020 เนื่องจากได้รับข้อความแง่ลบมากมาย หลังผลงานของเธอย่ำแย่ลงไปเพราะถูกเปลี่ยนมาเล่นตำแหน่งลิเบอโร่ แถมยังเป็นผู้เล่นที่ถูกแสดงผ่านหน้าจอโทรทัศน์ว่าถูกทีมโค้ชด่าทอมากที่สุดในสนามแข่งขัน

ทุกครั้งที่มีนักกีฬาเสียชีวิตในประเทศเกาหลีใต้เนื่องจากการถูกบูลลี่ เรื่องนี้มักจะตกเป็นข่าวใหญ่ และมีการเรียกร้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของสังคมและการออกกฎหมายเพื่อปกป้องผู้เสียหายเสมอ แต่จนแล้วจนรอดการบูลลี่ที่เกิดขึ้นในสังคมเกาหลีใต้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะน้อยลงไปเลย แม้ผู้ต้องโทษในคดีทำนองนี้จะมีโอกาสถูกจำคุกไม่เกินหนึ่งปีและปรับไม่เกิน 2 ล้านวอน

ปัญหาแท้จริงของวัฒนธรรมการบูลลี่ผู้อื่นในเกาหลีใต้อยู่ตรงไหน ? นี่คือวินาทีที่ชาวเกาหลีใต้ต้องหาคำตอบกันอย่างรวดเร็วที่สุด เพราะในวันที่กฎหมายเข้มงวดยังไม่สามารถลดจำนวนการรังแกผู้อื่นที่เกิดขึ้นได้

นี่อาจจะถึงเวลาแล้วที่สังคมเกาหลีใต้ต้องเกิดการปฏิรูปครั้งใหญ่ ก่อนที่จะมีนักกีฬา, บุคคลสาธารณะ หรือ บุคคลทั่วไปต้องเสียชีวิตจากความเกลียดชังอันไร้ที่มาและต้องทนเจ็บปวดกับความทรมานที่มีเพียงความตายเท่านั้นที่ช่วยเยียวยา มีจำนวนมากไปกว่านี้

UFABETWIN

Author: admins